ค้นหางานเทศกาลอื่นๆ

Search Results Code

Monday, March 30, 2009

Honda Summer Fest’ @Hua Hin ครั้งที่2


Honda Summer Fest’ @Hua Hin ครั้งที่2



กลับมาตามคำเรียกร้อง สำหรับงาน “Honda Summer Fest’ @Hua Hin เทศกาลดนตรีฤดูร้อน ครั้งที่ 2” ที่ยังได้สปอนเซอร์ใจป้ำอย่างฮอนด้าเป็นผู้สนับสนุนหลักเหมือนเคย ซึ่ง แค่ออกตัวก็แรงแล้ว เพราะในวันแถลงข่าวได้พาสื่อมวลชนไปเรียกน้ำย่อยกับบรรยากาศเสมือนหนึ่งอยู่ ริมทะเล ที่ร้านทะเลบางกอก แถวๆ RCA โดยเนรมิตบรรยากาศภายในร้านให้ได้กลิ่นไอของงานแบบย่อมๆ ที่โดดเด่นสุดๆ คงหนีไม่พ้น เจ้ารถ Jazz หุ้มทราย ที่เป็นเสมือนโลโก้รับแขกอยู่หน้าทางเข้า



ภายในงาน ทั้ง คุณพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหารบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) และ คุณวินิจ เลิศรัตนชัย ประธานบริหารบริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด ก็ได้ร่วมกันให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “Honda Summer Fest’ @ Hua Hin เทศกาลดนตรีฤดูร้อน ครั้งที่ 2 ว่า ใน ครั้งนี้จะเพิ่มความสนุกเป็น 2 เท่า...เขย่า...ความมันส์ 2 เวที ซึ่งนอกจากจะศิลปินตอบรับมาร่วมงานอย่างคับคั่งแล้ว ยังรวมถึงโชว์จากดีเจชื่อดังมาเพิ่มความสนุกกันอีกด้วย... งานนี้แถมท้ายด้วยโชว์พิเศษๆ ชิมลางก่อนถึงวันงาน จากศิลปินเร็กเก้สกาชื่อดัง ไค-โจ บราเธอร์ และ ทะโมน มากระตุกต่อมความมันส์



สำหรับ คอนเสิร์ต “Honda Summer Fest’ @ HuaHin เทศกาลดนตรีฤดูร้อน ครั้งที่2” นี้ จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 12.00-24.00 น. ณ บริเวณชายหาดเขาตะเกียบ หัวหิน โดยจะมีทัพศิลปินจากทั้งของไทยและจากต่างประเทศ รวมเกือบ 20 วง ร่วมร้อยชีวิตมาสร้างสีสันความสนุกให้กับปาร์ตี้ชายหาดริมทะเล อาทิ กรู๊ฟไรเดอร์ / โจอี้ บอย / สครับ / ลิปตา / โป้ โยคเพลย์บอย / ส้ม อมรา / มาย์ด / เครสเซนโด้ / เท็ดดี้ สกา แบรนด์ / ศรีราชาร็อคเกอร์ / มาดากัสก้า / โจ-แฟกซ์ / ไค-โจ บราเธอร์ / ทะโมน /OK Mocca / Superglasses Ska Ensemble และศิลปินจากต่างประเทศ Nossa Alma Canta บินลัดฟ้าสั่งตรงมาจากประเทศอิตาลี ...สนใจสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลฮอนด้า 24 ชม. โทรศัพท์ 02-341-7777 หรือ ไทยทิกเก็ตเมเจอร์ โทรศัพท์ 02-262-3456

*เข้าชมฟรี โดยไม่ต้องใช้บัตร*

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.freshairfestival.com/



Tuesday, December 23, 2008

Christmas

Christmas



The History of ChristmasIn the Western world, the birthday of Jesus Christ has been celebrated on December 25th since AD 354, replacing an earlier date of January 6th. The Christians had by then appropriated many pagan festivals and traditions of the season, that were practiced in many parts of the Middle East and Europe, as a means of stamping them out.There were mid-winter festivals in ancient Babylon and Egypt, and Germanic fertility festivals also took place at this time. The birth of the ancient sun-god Attis in Phrygia was celebrated on December 25th, as was the birth of the Persian sun-god, Mithras. The Romans celebrated Saturnalia, a festival dedicated to Saturn, the god of peace and plenty, that ran from the 17th to 24th of December. Public gathering places were decorated with flowers, gifts and candles were exchanged and the population, slaves and masters alike, celebrated the occasion with great enthusiasm.In Scandinavia, a period of festivities known as Yule contributed another impetus to celebration, as opposed to spirituality. As Winter ended the growing season, the opportunity of enjoying the Summer's bounty encouraged much feasting and merriment.The Celtic culture of the British Isles revered all green plants, but particularly mistletoe and holly. These were important symbols of fertility and were used for decorating their homes and altars.New Christmas customs appeared in the Middle Ages. The most prominent contribution was the carol, which by the 14th century had become associated with the religious observance of the birth of Christ.In Italy, a tradition developed for re-enacting the birth of Christ and the construction of scenes of the nativity. This is said to have been introduced by Saint Francis as part of his efforts to bring spiritual knowledge to the laity.Saints Days have also contributed to our Christmas celebrations. A prominent figure in today's Christmas is Saint Nicholas who for centuries has been honored on December 6th. He was one of the forerunners of Santa Claus.Another popular ritual was the burning of the Yule Log, which is strongly embedded in the pagan worship of vegetation and fire, as well as being associated with magical and spiritual powers.Celebrating Christmas has been controversial since its inception. Since numerous festivities found their roots in pagan practices, they were greatly frowned upon by conservatives within the Church. The feasting, gift-giving and frequent excesses presented a drastic contrast with the simplicity of the Nativity, and many people throughout the centuries and into the present, condemn such practices as being contrary to the true spirit of Christmas.The earliest English reference to December 25th as Christmas Day did not come until 1043.

บรรยากาศคริสต์มาสในเมืองไทย มักจะเริ่มด้วยห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ จะตกแต่งห้างด้วยสีสันต่างๆ รวมทั้งต้นคริสต์มาส อันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาส กันอย่างหรูหรา สิ่งเหล่านี้ เป็นบรรยากาศที่ ชักจูงให้เราคิดถึง วันสำคัญของชาวโลกวันหนึ่ง ก็คือ “วันคริสต์มาส” ซึ่งกำลังใกล้เข้ามาทุกนาทีนั่นเอง

วันคริสต์มาส คือ การฉลองวันประสูติของพระเยซู ผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซู มิใช่เป็นแต่เพียงมนุษย์ธรรดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็นพระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์พิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วย ….


ประวัติการประสูติพระเยซูเจ้า

ในเวลานั้น จักรพรรดิออกัสตัส รับสั่งให้ราษฎรทุกคนในอาณาจักรโรมัน ไปลงทะเบียนสำมะโนประชากร โยเซฟและมารีย์ ซึ่งมีครรภ์แก่ จึงต้องเดินทางไปยังเมืองเบธเลเฮม อันเป็นเมืองที่กษัตริย์ดาวิดประสูติ พอดีถึงกำหนดที่มารีย์จะคลอดบุตร เธอก็ได้คลอดบุตรชายหัวปี เธอเอาผ้าพันกายพระกุมารแล้ววางไว้ในรางหญ้า เนื่องจากตามโรงแรมไม่มีที่พักเลยคืนนั้น ทูตสวรรค์ของพระเจ้า ปรากฎแก่พวกเลี้ยงแกะ พวกเขาตกใจกลัวมาก แต่ทูตสวรรค์ปลอบพวกเขาว่า “อย่ากลัวไปเลย เพราะเรานำข่าวดีมาบอก คืนนี้เอง ในเมืองของกษัตริย์ดาวิด มีพระผู้ช่วยให้รอดประสูติ พระองค์นั้นเป็นพระคริสต์พระเป็นเจ้า นี่จะเป็นหลักฐานให้พวกท่านแน่ใจคือ พวกท่านจะพบพระกุมาร มีผ้าพันกายนอนอยู่ในรางหญ้า” ทันใดนั้น มีทูตสวรรค์อีกมากมาย ร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าว่า

"Gloria in Excelsis Deo"

ขอเทิดพระเกียรติพระเจ้า
ผู้สถิตย์ในสวรรค์ชั้นสูงสุดสันติสุขบนพิภพ
จงเป็นของผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย

ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ (ลก.2:1-3) บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าบังเกิดในสมัยที่ จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยมีคีรินิอัส เป็นเจ้าครองเมืองซีเรีย ซึ่งในพระคัมภีร์ ไม่ได้บอกว่า เป็นวันหรือเดือนอะไร แต่นักประวัติศาสตร์ให้เหตุผลว่า ทื่คริสตชนเลือกเอาวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองคริสต์มาส ตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมา เนื่องจาก ในปี ค.ศ. 274 จักรพรรดิเอาเรเลียน ได้กำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพผู้ทรงพลัง ชาวโรมันฉลองวันนี้อย่างสง่า และถือเสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะพระจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ คริสตชนที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รู้สึกอึดอัดใจ ที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ ตามประเพณีของชาวโรมัน จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 330 จึงเริ่มมีการฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการ และอย่างเปิดเผย เนื่องจากก่อนนั้น มีการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรง (ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 64-313) ทำให้คริสตชน ไม่มีโอกาสฉลองอะไรอย่างเปิดเผย


ความสำคัญของวันคริสต์มาส
คริสต์มาส เป็นวันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งวันหนึ่ง ในศาสนาคริสต์ มิใช่เป็นวันสำคัญฝ่ายร่างกาย จัดงานรื่นเริงภายนอกเท่านั้น ซึ่งเป็นแต่เพียงเปลือกนอก ของการฉลองคริสต์มาส แต่แก่นแท้อยู่ที่ความรักของพระเจ้าที่ มีต่อโลกมนุษย์ นั่นคือ พระเจ้าทรงรักมนุษย์มากจน ถึงกับยอมส่งพระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ ให้มาเกิดเป็นมนุษย์ มีเนื้อหนังมังสา ชื่อว่า “เยซู” การที่พระเจ้าได้ถ่อมองค์และเกียรติ ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น จากการเป็นทาสของความชั่ว และบาปต่างๆ นั่นเอง ดังนั้น ความสำคัญของวันคริสต์มาส จึงอยู่ที่การฉลองความรัก ที่พระเจ้ามีต่อโลกมนุษย์ อย่างเป็นจริงเป็นจัง และเห็นตัวตนในพระเยซูคริสต์ ที่มาเกิดเป็นมนุษย์ มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น

การร้องเพลงคริสต์มาส
เพลงคริสต์มาส เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือเพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fidelesในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวร รษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่เพลง Silent Night, Holy Night ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก

ต้นคริสต์มาส
ในสมัยโบราณ “ต้นคริสต์มาส” หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุดในประเทศเหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาสดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มากแม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก.2:9) ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น

ซานตาคลอส
ซานตาคลอส เป็นจุดเด่นหรือสัญลักษณ์ ที่เด็กและผู้คนนิยมมากที่สุด ในเทศกาลคริสต์มาส แต่แท้ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐ ก็ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ คือ ฉลองนักบุญนิโคลาส ในวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งหมายถึง นักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้ เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ ที่อพยพมา ก็รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้าง เพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น อันที่จริง ซานตาคลอสเป็นรูปแบบที่น่ารัก เหมาะสำหรับเป็นนิยายให้เด็กๆ เชื่อ แต่อาจจะทำให้คนทั่วไปหันมาสนใจ ให้ความสำคัญในตัวนิยายนี้ แทนการบังเกิดของพระเยซูเจ้า ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเทศกาลคริสต์มาสนี้


ที่มา http://www.geocities.com/christmasthai/christmas.html#section5

Friday, November 21, 2008

5ธันวาคม วันพ่อแห่งชาติ


เทศกาลวันพ่อ

ความเป็นมาวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ( วันพ่อ )
5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้


กิจกรรมที่ควรปฎิบัติในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.ประดับธงชาติที่อาคารบ้านเรือน
2.จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
3.จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ
1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

Sunday, November 9, 2008

Chiang Mai “Yee Peng”

“สืบฮีต สานฮอย ต๋ามโคมผ่อกอย ยี่เป็งล้านนา”

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงใหม่ กำหนดจัดงาน “ประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่” “สืบฮีต สานฮอย ต๋ามโคมผ่อกอย ยี่เป็งล้านนา” หรือ Chiang Mai “Yee Peng” (Loy Krathong Festival) ขึ้น ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2551 ตั้งแต่เวลา 18.30 – 22.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านความผสมผสานระหว่างดนตรีล้านนากับดนตรีสากล อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสกับเยาวชนในเขตจังหวัดภาคเหนือได้แสดงความสามารถในด้านดนตรี และศิลปวัฒนธรรมภายในงานอีกด้วย

กิจกรรมภายในงานแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้คือ
1. กิจกรรมการแสดง “มหกรรมคีตการล้านนา...สู่สากล”
การแสดงคีตการล้านนา...
สู่สากล เป็นการแสดงศักยภาพทางด้านดนตรีพื้นเมือง ที่สามารถเล่นผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากล โดยใช้นักแสดงพื้นบ้าน เยา

วชน ลูกหลานของคนท้องถิ่น สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนทางภาคเหนือ ที่มีวิถีในการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย รักสงบ และมีการแสดงออกทางด้านดนตรี ในงานรื่นเริงต่างๆ ตามเทศกาล และประเพณีของชาวล้านนา กิจกรรมการแสดง มีดังนี้

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 ชื่นชมกับความสามารถของนักดนตรีพื้นบ้าน ในรูปแบบของการแสดง “ล้านนาวาไรตี้” ควบคุมการแสดงโดย ครูแอ๊ด ภานุทัต ฟังการบรรเลง ดนตรีพื้นเมือง สะล้อ ซอ ซึง กับนักแสดงกว่า 80 ชีวิต พร้อมสอดแทรกศิลปวัฒนธรรมล้านนา

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา เต็มรูปแบบ จากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ เล่าขานตำนานล้านนา

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 ม่วนใจ๋ไปกับศิลปินพื้นเมืองจากหลากหลายสาขา ในรูปแบบของ “ลูกทุ่งล้านนา” โดยคุณวิทูรย์ ใจพรม
และวงดนตรีลูกทุ่งวงใหญ่ คุณเทิดไทย ชัยนิยม พร้อมดาวตลก ครบทีม

2. กิจกรรมการสาธิต “ลอยกระทงย้อนเวลา....หาวิถีล้านนาไทย”
เป็นการรวบรวมเอาวิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีตมานำเสนอ ในรูปแบบของบ้านแบบล้านนา มีการตกแต่งสถานที่ ให้ย้อนไปสู่อดีต และการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน เยาวชนที่ได้มาร่วมงานให้คำนึงถึงความสำคัญของวัฒนธรรม และประเพณีเดือนยี่เป็งของชาวล้านนาโดยมีการสาธิตแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลักคือ
กิจกรรมสาธิตการทำอาหารคาว-หวาน ของล้านนา
กิจกรรมสาธิตหัตถกรรมล้านนาที่นิยมทำในวันยี่เป็ง
กิจกรรมการแสดงและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม ของที่ระลึก อาหารล้านนา ในรูปแบบของกาดหมั้วคัวแลง


หมายเหตุ : การประกวดภาพถ่ายประเพณียี่เป็ง จะจัดแสดงและตัดสินหลังจากเสร็จงานประเพณียี่เป็งประมาณ 3 อาทิตย์

สอบถามรายละเอียด
เทศบาลนครเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5325 5478, 0 5323 3178
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5324 8604, 0 5324 8607
Website : www.loikrathong.net


ที่มา : http://thai.tourismthailand.org/festival-event/grand-content-4922.html

Friday, September 12, 2008

Songkran Festival




Songkran Festival




“Songkran” is the Thai traditional New Year and an occasion for family reunion. At this time, people from the rural areas who are working in the city usually return home to celebrate the festival. Thus, when the time comes, Bangkok temporarily turns into a deserted city.
The festival falls on April 13 and the annual celebration is held throughout the kingdom. In fact, “Songkran” is a Thai word which means “move” or “change place” as it is the day when the sun changes its position in the zodiac. It is also known as the “Water Festival” as people believe that water will wash away bad luck.
This Thai traditional New Year begins with early morning merit-making offering food to Buddhist monks and releasing caged birds to fly freely into the sky. During this auspicious occasion, any animals kept will be set free. Paying homage to one’s ancestors is an important part of the day. People will pay their respects to the elders by pouring scented water over the palms of their hands. The elders in return wish the youngsters good luck and prosperity.
In the afternoon, after performing a bathing rite for Buddha images and the monks, the celebrants both young and old, joyfully splash water on each other. The most-talked about celebration takes place in the northern province of Chiang Mai where Songkran is celebrated from April 13 to 15. During this period, people from all parts of the country flock there to enjoy the water festival, to watch the Miss Songkran Contest and the beautiful parades.
In Bangkok, the Buddha image “Buddhasihing” is brought out from the National Museum for people to sprinkle lustral water at Sanam Luang opposite the Grand Palace.

Loy Krathong Festival




Loy Krathong Festival



One of the most popular festivals in early November is the Loy Krathong Festival. It takes place at a time when the weather is fine as the rainy season is over and there is a high water level all over the country.
“Loy” means “to float” and a “Krathong” is a lotus-shaped vessel made of banana leaves. The Krathong usually contains a candle, three joss-sticks, some flowers and coins.
In fact, the festival is of Brahmin origin in which people offer thanks to the Goddess of the water. Thus, by moonlight, people light the candles and joss-sticks, make a wish and launch their Krathongs on canals, rivers or even small ponds. It is believed that the Krathongs carry away sins and bad luck, and the wishes that have been made for the new year due to start. Indeed, it is the time to be joyful and happy as the sufferings are floated away.
The festival starts in the evening when there is a full moon in the sky. People of all walks of life carry their Krathongs to the nearby rivers. After lighting candles and joss-sticks and making a wish, they gently place the Krathongs on the water and let them drift away till they go out of sight.
A Beauty Queen Contest is an important part of the festival and for this occasion it is called “The Noppamas Queen Contest”. Noppamas is a legendary figure from the Sukhothai period. Old documents refer to her as the chief royal consort of a Sukhothai King named “Lithai”. Noppamas was said to have made the first decorated Krathong to float in the river on the occasion.
In Bangkok, major establishments such as leading hotels and amusement parks organise their Loy Krathong Festival and the Krathong contest as major annual function.
For visitors to Thailand, the Loy Krathong Festival is an occasion not to be missed. The festival is listed in the tourist calendar. Everyone is invited to take part and share the joy and happiness.

Yee Peng Festival

Yee Peng Festival

Yee Peng is the annual festival held to celebrate the full moon in the northern capital of Chiang Mai on the day preceding Loy Krathong by one day in November. The word “Yee Peng” is the northern Thai term referring to the full moon of the 12th lunar month in the Buddhist calendar.
The festival is celebrated as a religious event in which local people throughout the region make merit and other religious activities. The highlight of the event focuses on the launching of the Khom loy or floating lanterns into the night sky with the belief that misfortune will fly away with the lanterns. It is their belief, if the lanterns are made and offered to monks, they will receive wisdom in return as the flame in the lantern is said to symbolise knowledge and the light it gives will guide them to the right path of their lives.
Meanwhile, “Khom loy” is a Thai word signifying the floating lantern which is a large balloon – like made from a light bamboo frame covered with saa (mulberry) paper. It floats by means of hot air heated by a flaming torch fixed in the balloon. During the event, both day and night local people and monks are closely involved with the Khom making process. Besides, the premise of large hotels, the temple compound is thus the appropriate venue for the launching of the Khom. The activity has gained such popularity that at the height of the event the flight training of the Royal Thai Air Force has to be suspended until all the Khom loy have dispersed while all commercial air traffic at the airport has been warned to exercise extreme caution as the climbing lanterns could pose a danger to the jet turbines.


To celebrate the auspicious event, companies and private individuals make merit by sponsoring ballons to dispel bad luck and seek good fortune. If their balloons rise high and travel far, this indicates prosperity. It has been said that this kind of hot air balloon could rise to heights of up to 1,250 metres and travel even as far as Hat Yai District of the southern province of Songkhla.
The most spectacular event is held at the Thapae Gate area where local and foreign visitors can see floats, marchers and beautiful Yee Peng queens. As the night falls, the spectators will be excited to see the long strings of Khom loy rise gently into the limitless sky as they stimulate the participants’ spirits to rise higher to the heaven. This brings joy and happiness to the merit-makers since their ill – fortune has been floated away.